การวิเคราะห์หาดาวพักร์ มนท์ เสริด

ในโปรแกรมพลโชติ จะใช้ตำแหน่งดาวแบบสากลในการตรวจหาว่าดาวเคลื่อนที่แบบใด (พักร์ มนท์ เสริด) ถึงแม้ผู้ใช้จะเลือกปฎิทินดาวแบบไทยก็ตาม

สาเหตุที่ต้องใช้ปฎิทินดาวแบบสากลมาทำการวิเคราะห์การเคลื่อนที่แบบใด (พักร์ มนท์ เสริด) จะอธิบายจากตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่าง

เจ้าชะตากำเนิด 24 พฤษภาคม 2504 เวลา 21:06 จ.กรุงเทพฯ

พิจารณาที่ดาว 5 (พฤหัส)

ปฎิทินดาวแบบไทย
วันที่ 23 พฤษภาคม 2504 ดาวพฤหัส อยู่ที่ 16 องศา 23 ลิปดา
วันที่ 24 พฤษภาคม 2504 ดาวพฤหัส อยู่ที่ 16 องศา 21 ลิปดา
ดังนั้น ดาวพฤหัส 5 เดินถอยหลังตามแบบปฎิทินไทย หรือ เรียกว่าดาวพักร์

ปฎิทินดาวแบบสากล ตัดอายศนางค์ลาหิริ (หรือ ปฎิทินดาวแบบ อ.เทพ)
วันที่ 23 พฤษภาคม 2504 ดาวพฤหัส อยู่ที่ 13 องศา 49 ลิปดา
วันที่ 24 พฤษภาคม 2504 ดาวพฤหัส อยู่ที่ 13 องศา 50 ลิปดา

ดังนั้น ในวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวพฤหัสยังคงเดินต่อไปข้างหน้าแต่ช้าลงกว่าปกติ เรียกว่าดาวมนท์ (ดาวพฤหัสเดินถอยหลังจริงวันที่ 26 พฤษภาคม)

สรุป ในที่ 24 พฤษภาคม ดาวพฤหัสยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามปรากฎการณ์บนท้องฟ้า
หากจะบอกว่า ดาวพฤหัสเดินถอยหลังในที่ 24 พฤษภาคม ก็คงไม่ได้ เพราะว่ามันไม่ได้เป็นแบบนั้น ดังนั้นในโปรแกรมพลโชติจึงจำเป็นต้องใช้ปฎิทินดาวแบบสากลมาวิเคราะห์หาวิถีการโคจรของดาวต่างๆ ว่าเคลื่อนที่แบบใด (พักร์ มนท์ เสริด)

อีกสาเหตุที่สำคัญ ที่ไม่ใช้ปฎิทินดาวแบบไทย คือการวิเคราะห์ดาวเคลื่อนที่แบบเสริด กับ มนท์จะมีปัญหา เมื่อใช้ปฎิทินดาวแบบไทย โดยบางทีดาวเคลื่อนแบบเสริดอยู่ และเวลาต่อมาเคลื่อนที่แบบมนท์เลย ซึ่งในธรรมชาติเป็นไปไม่ได้  เหมือนกันกับกรณีที่เคลื่อนที่แบบมนท์อยู่แล้วเปลี่ยนมาเป็นแบบเสริด ประการหลังนี้ก็ผิดธรรมชาติที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง